การรับข้อเสนอเชิงหลักการ (Concept paper) ประจำปีงบประมาณ 2568
ของเครือข่าย RAINS for Food Valley ภาคกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
RAINS for Food Valley เป็นโครงการตามนโยบายของ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) โดย RAINS for Food Valley by SWU ตอบสนองกับการพัฒนาประเทศด้วยการใช้โมเดลทางเศรษฐกิจใหม่
ที่เรียกว่า "BCG" ซึ่งเป็นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งจะนําไปสู่การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคเกษตร
โดยในปี 2567 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ให้เป็นเครือข่ายในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนา RAINS for Thailand Food Valley ภาคกลาง และมีแผนในการขยายเครือข่ายร่วมกับ เครือข่ายวิจัยภาคกลางตอนบน เครือข่ายในเครือเทางาม และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมถึง เครือข่ายเอกชนอื่น ๆ ในปีงบประมาณ 2568 เพื่อพัฒนา RAINS for Food Valley ภาคกลาง by SWU โดยมีเป้าหมายตาม OKR การเพิ่มสัดส่วนมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหารให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 3 ในปีแรก และเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ ชุมชน เกษตรกร อย่างน้อยร้อยละ 4 มุ่งเน้นการพัฒนาความยั่งยืนในการสร้างนวัตกรรมด้านอาหาร ขับเคลื่อนโครงการวิจัยด้วยการใช้โมเดล BCG ภายใต้แนวคิด 2R 1A: Reduce Imports, Reduce Agricultural Waste and Added Values สนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยรักษ์สิ่งแวดล้อม และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เกิดนวัตกรรมการจัดการ หรือนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม สามารถนำออกสู่ตลาดได้จริง มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย และนวัตกรรม
วิสัยทัศน์
“มุ่งสร้างระบบนิเวศทางอาหารเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและมั่นคงด้านอาหาร และสร้างมูลค่าอาหารให้กับเศรษฐกิจไทย”
- วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ได้เครือข่าย RAINS for Food Valley ภาคกลาง
เป้าหมาย คือ การนำเอา BCG Model มาขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสร้างความยั่งยืนในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพด้วยวัตถุดิบที่สามารถเตรียมได้ภายในประเทศเมื่อนำมาผลิตแล้วสามารถผ่านมาตรฐานการบริโภค (อย)
-
- เพื่อให้ได้เทคโนโลยี นวัตกรรม และต้นแบบผลิตภัณฑ์
ภายใต้แนวคิด 2R 1A คือ Reduce Imports, Reduce Agricultural Waste and Added Values for Healthy Foods
- ขอบเขตการสนับสนุนทุนวิจัย
ข้อเสนอโครงการวิจัยจะต้องเป็นการวิจัยด้านอาหารที่ตอบสนองกับการพัฒนาประเทศด้วยการใช้โมเดลทางเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า "BCG" ซึ่งเป็นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy)
เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งจะนําไปสู่การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคเกษตร ภายใต้แนวคิด 2R 1A: Reduce Imports, Reduce Agricultural Waste
and Added Values สนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยรักษ์สิ่งแวดล้อม และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เกิดนวัตกรรมการจัดการ หรือนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม สามารถนำออกสู่ตลาดได้จริง มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย และนวัตกรรม มีตัวชี้วัดที่แสดงถึงการบรรลุเป้าหมาย ก่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่มีความคุ้มค่ามีประสิทธิผล ทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เวลา และต้นทุน ตลอดจนมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างผลผลิตจากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยอย่างชัดเจน
- เงื่อนไขการสมัครทุน
- หัวหน้าโครงการเป็นบุคลากรในสังกัดสถาบันการศึกษา/หน่วยงานภาครัฐ
- มีภาคเอกชนร่วมทุน ดังนี้
-
-
-
-
- ร่วมสนับสนุนทุนวิจัยในรูปแบบตัวเงิน (In cash) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของงบประมาณโครงการ หรือ
- ร่วมสนับสนุนทุนวิจัยในรูปแบบตัวเงิน (In cash) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 และในรูปแบบไม่ใช่ตัวเงิน (In kind) อีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของงบประมาณโครงการ
- โครงการวิจัยมีประเด็นวิจัยตามแนวทางและขอบเขตการสนับสนุนทุนวิจัยที่กำหนดในข้อที่ 2
- ข้อเสนอโครงการมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และมีระเบียบวิธีการวิจัยที่น่าเชื่อถือตามหลักวิชาการ
- คณะผู้วิจัยมีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
โดยมีผลงานวิจัยที่เสนอขอดำเนินการต่อยอดในระดับความพร้อมเทคโนโลยี (TRL) ระดับตั้งแต่ 4 ขึ้นไป
- ข้อเสนอโครงการวิจัยที่ยื่นขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย ต้องมีเป้าหมายของผลผลิตและผลลัพธ์ที่เป็น รูปธรรม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
- ข้อเสนอโครงการวิจัย หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อเสนอโครงการนี้ ต้องไม่อยู่ในข้อเสนอโครงการวิจัย
ที่ได้รับทุนอุดหนุนจากแหล่งทุนอื่น
- ข้อเสนอที่มีการต่อยอดจากงานวิจัยเดิมต้องแสดงขอบเขตการดำเนินงานระหว่างงานเดิม และงานใหม่ โดยต้องมีหนังสือยินยอมจากหน่วยงานเจ้าของผลงานวิจัยเดิม/เจ้าของผลงานให้นักวิจัยดำเนินการ และหากมีการนำทรัพย์สินทางปัญญาจากงานวิจัยมาดำเนินการต่อยอด ต้องได้รับการยินยอมจากหน่วยงานเจ้าของผลงานวิจัยเดิม/เจ้าของผลงานทรัพย์สินทางปัญญานั้นในการใช้สิทธิผลงานวิจัยเพื่อใช้
ในโครงการวิจัยที่เสนอขอได้
-
- กรณีที่เป็นการวิจัยที่ใช้คนหรือสัตว์ในการทดลอง หัวหน้าโครงการต้องส่งข้อเสนอโครงการวิจัยที่ชี้แจง
แผนการขอใบรับรองการอนุมัติให้ดำเนินการวิจัยตาม พรบ./จริยธรรม หรือแสดง Certificate of Approval ที่ออกโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบัน หรือมหาวิทยาลัย หรือมีหลักฐานว่าได้ยื่นขออนุมัติดำเนินการวิจัยแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการฯ โดยสามารถส่งหลักฐานได้ช้าที่สุดเมื่อได้รับอนุมัติให้ดำเนินการวิจัย
- งบประมาณโครงการ เหมาะสมกับแผนการดำเนินงานวิจัย และได้ผลลัพธ์ที่คาดหวังในการเพิ่มมูลค่าสินค้า/ผลิตภัณฑ์/บริการ
- คุณสมบัติของหัวหน้าโครงการวิจัย ผู้มีสิทธิขอรับทุน
5.1 เป็นบุคลากรสังกัดสถาบันการศึกษา / หน่วยงานภาครัฐ และมีสัญชาติไทย
5.2 มีศักยภาพในการบริหารการวิจัย และ/หรือการบริหารจัดการ
5.3 มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดีในวิทยาการด้านใดด้านหนึ่งเกี่ยวกับการวิจัยในข้อเสนอโครงการวิจัยที่ยื่นขอรับรับทุน
5.4 มีศักยภาพ และมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน และควบคุมการวิจัยได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับทุนรวมทั้งสามารถดำเนินการวิจัยให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดอย่างมีคุณภาพ
5.5 เป็นผู้มีจริยธรรมตามจรรยาบรรณนักวิจัย
- การส่งข้อเสนอโครงการวิจัย
การส่งข้อเสนอโครงการแบ่งเป็น 2 รอบ ประกอบด้วย
รอบที่ 1 Pitching 30 นาที (นำเสนอ 15 นาที ซักถามและให้ข้อเสนอแนะ 15 นาที)
โดยต้องส่งไฟล์ส่ง Concept Paper และไฟล์สำหรับการนำเสนอ
รอบที่ 2 ส่งข้อเสนอโครงการวิจัย (Proposal)
เมื่อผ่านการประเมิน รอบที่ 1 หัวหน้าโครงการวิจัยต้องส่งข้อเสนอโครงการวิจัย ตามเงื่อนไขการสมัครทุนข้อที่ 3 และโครงการวิจัยที่ผ่านการคัดเลือก หัวหน้าโครงการและภาคเอกชนต้องเข้าร่วมรับฟังแนวทางการขับเคลื่อนเครือข่าย RAINS ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดและยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยได้ที่ https://forms.gle/ML6NU5Eq7kZmagwX8 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ทาง inbox : Facebook.com/researchswu
อีเมล์ swuri.projects@gmail.com
- ระยะเวลาการรับสมัคร
ตั้งแต่บัดนี้ - วันที่ 30 เมษายน 2567
- ประกาศผล
8.1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการ pitching ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2567
ทางเว็บไซด์ https://research.swu.ac.th/ และ pitching รอบที่ 1 ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2567
(กำหนดการแจ้งให้ทราบต่อไป)
8.2 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการประเมิน รอบที่ 1 ทางเว็บไซด์ https://research.swu.ac.th/