เรื่อง มาตรการควบคุมสินค้าและถ่ายโอนเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ (Intangible Technology Transfer: ITT) ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง รวมถึงสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-use items: DUI) ขององค์กรด้านการศึกษาและการวิจัยของไทย
ตามหนังสือที่อ้างอิง กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศได้นำเสนอแนวทางการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแผยแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสุง (Weapons of Mass Destruction: WMD) เมื่อปี 2562 และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยได้รับทราบแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 พ.ร.บ.สคอส. ซึ่งเป็นกฏหมายหลังของไทยในการดำเนินการตามข้อมติคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1540 (UNSCR 1540) ได้มีผลบังคับใช้ กรมฯ จึงกำหนดมาตรการตามประกาศ CAC ซึ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564 โดยมีกลไกการตรวจสอบข้อมูลความเสี่ยงเพื่อห้ามไม่ให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งออก ส่งกลับ ถ่ายลำ ผ่านแดน ถ่ายโอนเทคโนโลยีฯ รวมถึงองค์ความรู้ (ITT) ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยาย WMD รวมถึง DUI
กรมการค้าต่างประเทศพิจารณาแล้วขอเรียนว่า องค์กรของท่านเป็นองค์กรที่ให้บริการและสนับสนุนด้านการศึกษา ค้นคว้าวิจัย เผยแพร่ และ ITT ให้แก่นักศึกษาและนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับ ITT ของสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ขยาย WMD อนึ่ง หากองค์กรมีระบบงาน ICP ตามประกาศ ICP จะสามารถประเมินความเสี่ยงของกิจกรรมด้วยการตรวจสอบการใช้และผู้ใช้สุดท้าย (End-use/user) ไม่ให้เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยาย WMD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนไม่เป็นอุปสรรค์ต่อการให้บริการด้านการศึกษาและการพัฒนาด้านการวิจัยของประเทศ
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา กรมฯ ได้ดำเนินโครงการภาคีเครือข่ายความรว่มมือระบบงานควบคุมสินค้าภายในองค์กร (ICP Network) เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะด้านระบบงาน ICP และ โครงการบ่มเพาะระบบงานควบคุมสินค้าภายในองค์กร (ICP In-house) เพื่อส่งเสริมให้องค์กรมีองค์ความรู้ในการจัดทำระบบงาน ICP จนสามารถผลักดันให้องค์กรมีระบบงาน ICP ที่ผ่านการประเมินผลการรับรองจากกรมฯ ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยระดับนานาชาติ ตลอดจนรัฐสมาชิกขององค์การสหประชาชาติในการป้องกันการแผร่ขยาย WMD โดยล่าสุดมีผู้แทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรมองค์การระหว่างประเทศ กรมศุลกากร สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เข้าร่วมโครงการดังกล่าวแล้ว
เพื่อให้องค์กรที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย โดยเฉพาะองค์กรที่ให้บริการด้านการศึกษาและการวิจัยสามารถปฏิบัติตาม พ.ร.บ. สคอส.ได้อย่างมีประสิทธิภาพแบะสอดคบ้องตาม UNSCR 1540 ในการนี้ ขอความอนุเคราะห์องค์กรของท่านตระหนัก เผ้าระวัง และพร้อมกำกับดูแลกิจกรรมที่อาจนำปสู่การบังคับใช้มาตรการ CAC ในอนาคต ทั้งนี้ องค์กรสามารถติดต่อสอบถามเพื่อรับทราบข้อมูลการจัดทำระบบงาน ICP แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ หรือยื่นขอรับการประเมินระบบงาน ICP ได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ tcwmd@outlook.com หรอ โทรศัพท์ 02-528-7500 – 29 ต่อ 4710 หรือ 4713